หน้าเว็บ

บทคัดย่อ : รายงานการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ชื่อเรื่อง  :  รายงานการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
              พุทธศักราช 2551
ผู้ศึกษา  : นางสกาวรัตน์  ไกรมาก   ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2

 
บทคัดย่อ
          รายงานการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาคุณภาพคู่มือการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อศึกษาผลการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้        ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อประเมินผลการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ดำเนินการศึกษา 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาในโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 1 โรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้บริหารสถานศึกษา ครูจำนวน 5 คน และนักเรียนที่เรียนกับครู      ทั้ง 5 คน ระยะที่ 2 ขยายผลการนิเทศ โดยขยายผลการนิเทศสู่ครูในโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษา         ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และโรงเรียนทั่วไปอีก 2 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 6 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้บริหารสถานศึกษา ครูจำนวน 4 คน และนักเรียนที่เรียนรู้กับครู ซึ่งมีขั้นตอนการศึกษา ดังนี้ 1) การสร้างและหาคุณภาพคู่มือการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 3) ดำเนินการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดซึ่งมีกระบวนการ ได้แก่ กิจกรรมในห้องเรียน (Lesson day) การสะท้อนคิด (Reflective) การอภิปรายร่วมกัน (Debriefing) ติดตามผลการพัฒนา (Follow up) 4) ประเมินผลการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) ข้อมูล เชิงปริมาณ คือแบบทดสอบ แบบประเมินหน่วยการเรียนรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจ ข้อมูลเชิงคุณภาพได้ประยุกต์ใช้เครื่องมือจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา และ/หรือหัวหน้าฝ่ายวิชาการ แบบสังเกตการจัดการเรียนการสอน แบบสัมภาษณ์ผู้เรียน และแบบสัมภาษณ์ครู
ผลการวิจัยสรุปได้ว่าคู่มือการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีประสิทธิภาพทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ รูปเล่ม เนื้อหาและประโยชน์ของคู่มือ ผลการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดต่อการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พบว่า ครูทั้งในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 มีการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้ดีทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดทำโครงสร้างรายวิชา การจัดทำหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ สอดคล้องกับผลการประเมินหน่วยการเรียนรู้ของครู พบว่า เมื่อได้รับการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดแล้วครูมีพัฒนาการการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ดีขึ้น และการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การใช้คำถาม การวัดและประเมินผล การพัฒนาทักษะการคิด การดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคล การสอดแทรกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และการวิจัยในชั้นเรียน เมื่อครูได้รับการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดครูแต่ละคนมีพัฒนาการในแต่ละองค์ประกอบที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่ครูพัฒนา     ได้ดีขึ้น ได้แก่ การใช้สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดประเมินผล การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวิจัยในชั้นเรียน เมื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ครูมีพัฒนาการสูงขึ้น ส่วนด้านความพึงพอใจของครูต่อการนิเทศของศึกษานิเทศก์ พบว่า ครูทุกคนมีความพึงพอใจในระดับมาก มีข้อมูลเชิงคุณภาพชี้ให้เห็นถึงความพึงพอใจของครูต่อการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดว่าเป็นการช่วยให้ครูเกิดการพัฒนา ไม่ได้ตำหนิครู ทำให้ครูสะท้อนการสอนของตนเอง ขณะที่นักเรียน ได้เรียนรู้กับครูที่ได้รับการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดมีความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้ของครูในระดับมาก
      (คำสำคัญ (Keywords) : การนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด, การพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้, การพัฒนาการจัดการเรียนรู้, หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551)

1 ความคิดเห็น: