หน้าเว็บ

บทคัดย่อ : รายงานการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ชื่อเรื่อง  :  รายงานการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
              พุทธศักราช 2551
ผู้ศึกษา  : นางสกาวรัตน์  ไกรมาก   ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2

 
บทคัดย่อ
          รายงานการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาคุณภาพคู่มือการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อศึกษาผลการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้        ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อประเมินผลการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

การนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด


การนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด (Reflective Coaching Supervision)
เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
โดย ดร.สกาวรัตน์ ไกรมาก ศึกษานิเทศก์ สพป.พะเยา เขต 2
 
การขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ การนิเทศนับเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยเหลือครูและผู้บริหารให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและให้ครูสามารถนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้บรรลุตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัด แต่การศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการนิเทศของศึกษานิเทศก์ยังคงมีปัญหาและอุปสรรคหลายด้าน เช่น ผู้นิเทศไม่ได้รับการยอมรับและไว้วางใจเชื่อถือจากครู ครูต่อต้านการนิเทศ การขาดแคลนศึกษานิเทศก์ที่มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะสาขาวิชา ศึกษานิเทศก์มีจำนวนน้อยและไม่ครบกลุ่มสาระและช่วงชั้น นอกจากนี้ศึกษานิเทศก์ได้รับมอบหมายงานอื่นมากเกินไป ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ การนิเทศการสอนจึงไม่ทั่วถึง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553 : 9) ดังนั้นรูปแบบการนิเทศที่นำมาใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาจึงจำเป็นต้องมีรูปแบบการนิเทศที่ทำให้ครูยอมรับ เกิดการพัฒนาการทำงาน พัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูและศึกษานิเทศก์ โดยศึกษานิเทศก์จึงต้องมีคุณลักษณะของความเป็น     พี่เลี้ยง (Mentor) ความเป็นกัลยาณมิตร (Critical Friend) และมีทักษะในการชี้แนะแบบสะท้อนคิด (Reflective Coaching) (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553 : 67)